บัดกรีแข็ง (Brazing) กับ บัดกรีอ่อน (Soldering) คืออะไร ต่างกันอย่างไร ในงานระบบปรับอากาศ
หากหลายท่านอาจจะสงสัยว่าการ บัดกรี ที่มีทั้งแข็งและอ่อนมันคืออะไร และทำไมเราต้องมีการทำกระบวนการ บัดกรีแข็ง (Brazing) กับ บัดกรีอ่อน (Soldering) ในระบบปรับอากาศ ทั้งคู่ที่กล่าวมานั้น มันคือกระบวนการเชื่อมต่อโลหะเข้าด้วยกัน ส่วนการบัดกรีแข็ง (Brazing) กับ บัดกรีอ่อน (Soldering) แตกต่างกันก็คือ “อุณหภูมิ” โดย บัดกรีอ่อน (Soldering) จะมีกระบวนการใช้อุณหภูมิต่ำกว่าการบัดกรีแข็ง (Brazing) นอกนั้นกระบวนบัดกรีจะคล้ายกัน
บัดกรีแข็ง (Brazing) คืออะไร
บัดกรีแข็ง (Brazing) หรือบางท่านอาจจะเรียกว่าการแล่นประสาน คือ กรรมวิธีการเชื่อมต่อโลหะที่มีตั้งแต่สองชิ้นหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน โลหะที่มาเชื่อมต่อกันอาจจะเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ โดยใช้อุณหภูมิความร้อนแก่รอยต่อที่อุณหภูมิสูงกว่า 450 องศา ด้วยโดยโลหะเติมจะลอมละลาย แต่ไม่ถึงกับอุณหภูมิหลอมละลายของโลหะขิ้นงานที่นำมาบัดกรีแข็ง โดยอาศัยปฏิกิริยาคาปิลารี (Capillary action) หลอมละลายโลหะเติมแทรกซึมเข้าไปในช่องว่าระหว่างรอยต่อ โดยลักษณะโลหะเติมจะเป็นโลหะที่ไม่อยู่จำพวกเหล็ก อาจจะเป็นโลหะผสม เช่น ลวดทองแดงผสมฟอสฟอรัส ทองเหลือง หรือที่เราอาจจะชอบเรียกกันว่า ลวดเชื่อม โดยที่โลหะเติมเหล่านี้จะมีจุดหลอมเหลวสูงกว่า 450 องศา ในงานระบบปรับอากาศ งานบัดกรีแข็งมักจะถูกนำมาใช้ในงานเชื่อมต่อท่อทอแดง
บัดกรีอ่อน (Soldering) คืออะไร
บัดกรีอ่อน (Soldering) คือ กรรมวิธีการเชื่อมต่อโลหะที่มีตั้งแต่สองชิ้นหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน โลหะที่มาเชื่อมต่อกันอาจจะเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ โดยใช้อุณหภูมิความร้อนแก่รอยต่อที่อุณหภูมิต่ำกว่า 450 C แข็ง โดยอาศัยปฏิกิริยาคาปิลารี (Capillary action) หลอมละลายโลหะเติมแทรกซึมเข้าไปในช่องว่าระหว่างรอยต่อเหมือนเดิมแต่โลหะเติมจะมีอุณหภูมิหลอมเหลวต่ำกว่า 450 C ส่วนใหญ่จะนำมาบัดกรีสายไฟ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกในแผงวงจรหรือแผงควบคุม ในระบบปรับอากาศ
สรุป
บัดกรีแข็ง (Brazing) กับ บัดกรีอ่อน (Soldering) มีการใช้อุณหภูมิหลอมละลายโลหะเติมต่างกัน บัดกรีแข็ง จะใช้อุณหภูมิสูงกว่า บัดกรีอ่อน ความแข็งแรง บัดกรีแข็ง (Brazing) จะมีความแข็งแรงของชิ้นงานมากว่า บัดกรีอ่อน (Soldering) แต่บัดกรีอ่อน (Soldering) จะมีต้นทุนการทำงานถูกกว่า บัดกรีแข็ง (Brazing)